ธรรมชาติมนุษย์ทุกคน ให้ความสำคัญกับเรื่องราวของตัวเองที่สุด ทุกคนอยากได้รับการยอมรับ ปรารถนาให้ผู้อื่นเข้าใจตนเอง และเราชื่นชอบคนที่เข้าใจตัวเรา
การทำความเข้าใจพื้นฐานตรงนี้ก่อน จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาทักษะการสนทนาได้ดียิ่งขึ้น
จากที่กล่าวไป ว่าเราไม่จำเป็นต้องพูดเก่งไฟแลบ แบบพรีเซนต์หน้าห้องเรียน ถึงจะเป็นคนที่พูดคุยเก่ง เพราะจริง ๆ แล้ว 90% ของการพูดคุย คือการฟัง
การเป็นผู้ฟังที่ดี จะช่วยให้เราสร้างความประทับใจกับคู่สนทนาได้ดียิ่งขึ้น เพราะผู้คนชอบที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง
เทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ใช้การขยายเรื่องราว ฟัง และมีอารมณ์ร่วมไปกับคู่สนทนา เพื่อให้ต่อยอดบทสนทนาไปได้เรื่อย ๆ
และเทคนิคอื่น ๆ ที่ใช้แสดงออกว่าเราให้ความสำคัญกับคู่สนทนา เช่น
ปรับบทสนทนา ให้คู่สนทนาเป็นตัวเอก เช่น จาก ‘ผมมีความสุขจัง’ เป็น ‘ได้คุยกับคุณแล้วมีความสุขจัง’
จำชื่อคู่สนทนาที่เพิ่งรู้จักให้ได้ และเรียกบ่อย ๆ เพราะเสียงที่ไพเราะที่สุดสำหรับมนุษย์ คือเสียงที่เรียกชื่อคนคนนั้น
หรือการวางตัวเองให้มีจุดยืนร่วมกันกับคู่สนทนา
อย่างในการในให้ feedback โดยแทนที่จะบอกตรง ๆ ก็ให้แนะนำไปในแนวทางว่า “เคยเจอแบบนี้เหมือนกัน…” หรือ “มีคนแนะนำกับผมไว้ว่า…” จะทำให้กำแพงบางลง และเปิดใจคู่สนทนาได้
หรือจะเป็นในการเริ่มต้นบทสนทนา ให้ลองหาสิ่งที่มีร่วมกัน เช่น ของกิน ถิ่นกำเนิด หรือสัตว์เลี้ยง จะทำให้เปิดใจง่ายขึ้น
รวมถึงการเล่าเรื่องความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเรา จะช่วยให้คู่สนทนามองว่าเราก็เป็นคนธรรมดา ที่ก็ทำผิดพลาดได้ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
และมีเทคนิคลับสุดยอด ที่ทำง่ายนิดเดียว แต่ผลลัพธ์มหาศาล คือ พูดคำว่า ‘ขอบคุณ’ ให้ติดเป็นนิสัยพร้อมทั้งแสดงความรู้สึกขอบคุณที่ออกมาจากใจจริง ๆ
และ ขณะสนทนา ให้ภาวนาว่า “ขอให้เขามีความสุข” พร้อมทั้งแสดงความปรารถนานั้นออกไป จะทำให้ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี